การกำหนด Knowledge Vision: KV

ขอบเขต “ความรู้ด้านการปฏิบัติงานและข้อระเบียบที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน”
เป้าหมาย (ปัจจัย)
1. พัฒนาองค์ความรู้ (Create/Leverage) : การพัฒนาความรู้เชิงการปฏิบัติงาน
2. พัฒนาการปฏิบัติงานและคุณภาพผลงาน
3. การถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้

การกำหนดตัวชี้วัดตามเป้าหมาย (ปัจจัย)
ปัจจัยที่ 1. พัฒนาองค์ความรู้ (Create/Leverage)
ตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จในการจัดทำองค์ความรู้
                                                      (จำนวนองค์ความรู้)
ระดับ 1 ...........................................ไม่มีองค์ความรู้
ระดับ 2 ........................................องค์ความรู้ที่ได้ 1 - 2 เรื่อง
ระดับ 3 ........................................องค์ความรู้ที่ได้ 3 - 4 เรื่อง
ระดับ 4 ........................................องค์ความรู้ที่ได้ 5 - 6 เรื่อง
ระดับ 5 ........................................องค์ความรู้ที่ได้ตั้งแต่ 7 เรื่องขึ้นไป

ปัจจัยที่ 2. พัฒนาการปฏิบัติงานและคุณภาพงาน
ตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการจัดทำขั้นตอนและกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงาน และ/หรือการจัดทำเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพงาน
                                                       (ขั้นตอน/ระยะเวลาและเครื่องมือฯ ของกลุ่มงาน/กลุ่มภารกิจ)
ระดับ 1 ........................................ไม่มีการจัดทำขั้นตอนและกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงานและ/หรือเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพงาน
ระดับ 2 ........................................มีการจัดทำขั้นตอนและกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงานและ/หรือมีเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพงาน 1 - 2 กลุ่มภารกิจ
ระดับ 3 ........................................มีการจัดทำขั้นตอนและกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงานและ/หรือมีเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพงาน 3 - 4 กลุ่มภารกิจ
ระดับ 4 ........................................มีการจัดทำขั้นตอนและกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงานและ/หรือมีเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพงาน 5 - 6 กลุ่มภารกิจ
ระดับ 5 ........................................มีการจัดทำขั้นตอนและกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงานและ/หรือมีเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพงานครบทุกกลุ่มภารกิจ

ปัจจัยที่ 3. การถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้

ตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้
                                                      (จำนวนช่องทางการเผยแพร่)
ระดับ 1 ........................................มีการเผยแพร่จำนวน 1 ช่องทาง
ระดับ 2 ........................................มีการเผยแพร่จำนวน 2 ช่องทาง
ระดับ 3 ........................................มีการเผยแพร่จำนวน 3 ช่องทาง
ระดับ 4 ........................................มีการเผยแพร่จำนวน 4 ช่องทาง
ระดับ 5 ........................................มีการเผยแพร่จำนวนตั้งแต่ 5 ช่องทางขึ้นไป

การวิเคราะห์กระบวนงาน ความรู้ที่จำเป็น
1. เป็นความรู้ที่ใช้ปฏิบัติงานประจำของแต่ละกลุ่มภารกิจ (Actionable Knowledge)
2. เป็นความรู้ที่มีอยู่แล้วและที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน
3. เป็นความร่วมมือระหว่างผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ

การวิเคราะห์ตนเอง
จุดแข็ง
1. บุคลากรมีขีดสมรรถนะ ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ รวมทั้งทักษะในการปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองได้เป็นอย่างดี สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันได้
2. มีเครื่องมือและเทคโนโลยีอย่างเพียงพอ ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงาน
3. มีการดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่ขับเคลื่อนกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามแผนงาน
จุดอ่อน
1. ขาดการรวบรวมความรู้แบบองค์รวมขององค์กร (ทุกกลุ่มภารกิจงาน)
2. ประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร/การประสานงานระหว่างกลุ่มภารกิจและคณะทำงาน
3. การรวมตัว(ประชุม)ของคณะทำงานฯ และการให้ความสำคัญกับ Knowledge Management: KM ของบุคลากร
4. ภาระหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำของบุคลากร จึงทำให้ไม่สามารถศึกษาเกี่ยวกับ Knowledge Management: KM
โอกาส
1. การจัดทำแผนปฏิบัติการของ Knowledge Management: KM ช่วยกำหนดทิศทางและขับเคลื่อนให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
2. เทคโนโลยีในการค้นคว้าหาความรู้/ประชาสัมพันธ์ (e-mail, Facebook, web pageของ อบจ.เชียงราย เป็นต้น)
3. หน่วยงานให้การสนับสนุนในการจัดโครงการองค์กรแห่งการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากร
4. นโยบายของหน่วยงานเน้นการพัฒนาบุคลากรเพื่อพัฒนาและส่งเสริมบุคลากรให้มีคุณภาพในการปฏิบัติงาน
อุปสรรค
1. นโยบายการบริหารงานของหน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงระบบและโครงสร้างในการบริหารงาน สร้างความสับสน ให้กับบุคลากรในการปฏิบัติงาน
2. การประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานยังมีไม่มากพอทำให้ไม่เป็นที่รู้จักของผู้ที่สนใจศึกษา
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
- การสนับสนุนของผู้บริหารด้านการจัดการความรู้ chief knowledge officer: CKO
- การอุทิศเวลาของคณะทำงานการจัดการความรู้ (Facilitator) และผู้รับผิดชอบทุกคน
- ความร่วมมือของบุคลากรทุกคน ความกระตือรือร้นของคณะทำงานฯ และภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาทุกระดับ